รายชื่อกลุ่ม



รายชื่อกลุ่ม

นายณัฐพนธ์ ชาญสุขใส เลขที่ 3 ม.5/2
นายวิริยะ ติสระพงศ์ เลขที่ 4
นายธนัตถ์ สุธีโสภณ เลขที่ 6
นายพชรพล ศิลป์สัมฤทธิ์ เลขที่ 7
นายสรวิศ พูลสวัสดิ์ เลขที่ 17
นายพงศกร มหาเหมรัตน์ เลขที่ 18
นายวัชระ ทับศรี เลขที่ 19
นายนัทธพงศ์ ดวงศรี เลขที่ 31
นายธนพล ศิริมโนรม เลขที่ 35
นายศราวิณ ชอุ่มทอง เลขที่ 37

ธาตุหมู่ VIIA *Halogen*

ธาตุหมู่ VIIA มีทั้งหมด 5 ธาตุ คือ ฟลูออรีน คลอรีน โบรมีนและแอสทาทีน สำหรับธาตุแอสทาทีนไม่มีในธรรมชาติ เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่สังเคราะห์ ธาตุหมู่ VIIA มีชื่อว่า ธาตุแฮโลเจน เพราะสารประกอบของหมู่ VIIA จะเกิดเป็นเกลือที่มีรสเค็ม

ตาราง แสดงสมบัติบางประการของธาตุหมู่ VIIA

สรุปสมบัติทั่วๆ ไปของธาตุหมู่ VIIA ได้ดังนี้
1. เป็นอโลหะ มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 7 สภาวะปกติ F2 และ Cl2 เป็นก๊าซ สีเหลืองอ่อนและเขียวอ่อนตามลำดับ Br2 เป็นของเหลวสีน้ำตาลแดง และ I2 เป็น ของแข็งสีม่วง ซึ่งสีของธาตุฮาโลเจนจะเข้มขึ้น เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น ทุกตัวเป็นสารพิษ
2. ความเป็นโลหะจะเพิ่มขึ้น เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น
3. ธาตุฮาโลเจนทุกตัวอยู่ในสภาพโมเลกุลอะตอมคู่ (diatomic molecule) ทุกสถานะทั้งของแข็ง ของเหลวและก๊าซ โดยยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะโคเวเลนต์
4. ไม่นำความร้อนและไฟฟ้าเพราะเป็นอโลหะ
5. อะตอมมีขนาดเล็ก เมื่อเปรียบเทียบกับธาตุในคาบเดียวกัน แต่มีขนาดใหญ่ขึ้น เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น
6. ความหนาแน่นน้อย แต่ความหนาแน่นจะเพิ่มขึ้นเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น
7. มีจุดหลอมเหลว จุดเดือดและความร้อนแฝงของการเกิดไอต่ำ เนื่องจากมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล (คือแรงวันเดอร์วาลส์) น้อย แต่จุดหลอมเหลว จุดเดือดและความร้อนแฝงของการเกิดไอเพิ่มขึ้น เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น เพราะมีแรงวันเดอร์วาลส์เพิ่มขึ้น นอกจากนี้การระเหยของธาตุหมู่ VIIA จะค่อยๆ ลดลง เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น เพราะแรงวันเดอร์วาลส์เพิ่มขึ้น
8. มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงที่สุด ในคาบเดียวกัน และค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีจะค่อยๆ ลดลงเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น
9. มี IE1 ค่อนข้างสูง และค่า IE1 จะค่อยๆ ลดลงเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น เนื่องจากขนาดอะตอมใหญ่ขึ้น
10. มีเลขออกซิเดชันได้หลายค่า เนื่องจากมี 7 เวเลนซ์อิเล็กตรอน ซึ่งสามารถจะให้หรือรับอิเล็กตรอนจากธาตุอื่น หรือใช้อิเล็กตรอนร่วมกับธาตุอื่นๆ ซึ่งมีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีต่างๆ กันได้ ทำให้มีเลขออกซิเดชันหลายค่า เช่น
ตัวอย่างของธาตุ Cl มีเลขออกซิเดชันตั้วแต่ -1 ถึง +7
11. เกิดสารประกอบได้หลายชนิด เช่น NaCl CaF2 HF KI และยังเกิดสารประกอบ ที่มีธาตุองค์ประกอบชนิดเดียวกัน ได้หลายชนิด เพราะมีเลขออกซิเดชันหลายค่า เช่น NaClO NaClO2 NaClO3 NaClO4 Cl2O ClO2 ClO3 และ Cl2O7 เป็นต้น
12. ธาตุหมู่ VIIA ละลายในน้ำได้เล็กน้อยและให้สีต่างๆ กัน เนื่องจากเป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว จึงละลายได้ดีในตัวทำละลายอินทรีย์ เช่น ใน CCl4 >> Cl2 ใน CCl4 ไม่มีสี >>Br2 ใน CCl4 สีส้ม >> I2 ใน CCl4 สีม่วง
13. ธาตุที่อยู่ตอนบนของหมู่ สามารถทำปฏิกิริยากับสารประกอบแฮไลด์ของธาตุที่อยู่ตอนล่างได้ แต่ธาตุอยู่ตอนล่าง จะไม่ทำปฏิกิริยากับสารประกอบแฮไลด์ของธาตุที่อยู่ตอนบน จึงสรุปได้ว่า “ความสามารถในการทำปฏิกิริยาของธาตุหมู่ VIIA จะลดลงจากบนลงล่าง” ดังตาราง

แบบทดสอบ

เข้าไปศึกษาได้ที่

http://www.kr.ac.th/wai/show.php?id=144

การนำไปใช้ประโยชน์ของ Iodine


-ไอโอดีนใช้ในการตรวจสอบน้ำตาลในแป้ง
-ไอโอดีนถูกใช้ในโคมาโทกราฟี
-Povidone-iodine ถูกใช้สำหรับล้างแผนเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และยังมีคุณสมบัติในการทำลาย ยีสต์ แบคทีเรีย ฟังใจ และไวรัส
-Counterfeit banknote detection pen ใช้ในการสืบสวนและสอบสวนโดยมีส่วนประกอบของไอโอดีน
-ประโยชน์ ทิงเจอร์ไอโอดีนซึ่งได้จากละลายไอโอดีนในเอทานอลใช้ใส่แผลสดเพื่อฆ่าเชื้อโรคซิล
เวอร์ไอโอไดด์ (Agl) ใช้ในกิจการภาพถ่าย ร่างกายจำเป็นต้องได้รับไอโอดีน โดยปกติจะไดรับจากการ
บริโภคพืชหรือสัตว์ทะเล เนื่องจากไอโอไดด์ไอออนเป็นส่วนประกอบของโฮร์โมนไทรอกซินในต่อม
ไทรอยด์ ซึ่งควบคุมเมตโบลิซึมของร่างกาย ถ้าขาดจะทำให้เกิดโรคคอพอก เพราะการขยายตัวของต่อม ไธ
รอยด์ เนื่องจากทำหน้าที่มากเกินไป เพื่อป้องกันการขาดธาตุไอโอดีนสำหรับผู้ที่ไม่ได้บริโภคเกลือสมุทร
หรืออาหารทะเลหรือบริโภคน้อย ได้มีการผสมโซเดียมไอโอไดด์ (NaI) โพแทสเซียมไอโอดีน (KI) กับเกลือสินเธาว์ธาตุเพื่อใช้บริโภคเพื่อเพิ่มไอโอไดด์ไอออน
-ใช้ในการทำหลอดไฟร่วมกับก๊าซเฉื่อย

การนำไปใช้ประโยชน์ของ Astatine


-แอสทาทีนถูกใช้ในการฉายรังสี X-Ray ซึ่งต้องใช้อย่างระมัดระวังทั้งนี้เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้และ ธาตุชนิดนี้หายากมากๆ ซึ่งยังไม่มีการเปิดเผยอย่างเป็นทางการต่อสาธารณะชน
-Astatine 211 ใช้สำหรับ Radiation therapy ซึ่งแผ่รังสีแอลฟา ถูกใช้ในการผ่าตัดทำศัลยกรรม และการรักษา

การนำไปใช้ประโยชน์ของ Bromine


-ประมาณร้อยละ 95 ของ Br2 ที่ผลิตได้ทั้งหมด ใช้ในการเตรียม ethylene bromide และ 1,2-dibromoethane (หรือ ethylene dibromide) เพื่อใช้เป็นสารเติมใส่น้ำมัน แก๊สโซลีน ทำให้แก๊สโซลีนมีเลขออกเทนสูงขึ้น (ใช้ควบคู่กับเตตระเอทิลเลด)
-ใช้เป็นสารตั้งต้นในการเตรียมสารเคมีทั้งสารอินทรีย์และอนินทรีย์ที่มี Br เป็นองค์ประกอบ
-โบรมีนส่วนหนึ่งขายในรูปของของเหลว ใช้เป็นน้ำยาในการวิเคราะห์และการสังเคราะห์
-ใช้ในอุตสาหกรรมย้อมและฟอกสี
-Brominated flame retardants หรือการใช้โบรมีนในการลดอัตราเร็วของการเกิดปฏิกิริยาในการเผาไหม้ ซึ่งเป็นตัวหน่วงปฏิกิริยาใช้ในการดับเพลิง และกลายเป็นส่วนประกอบของวงจรลายพิมพ์(พีซีบี)
-Ethylene bromide ยังเคยใช้เป็นพลังงานเชื้อเพลิง แต่ถูกยกเลิกในสหรัฐอเมริกาในปี 1966-
-Methyl bromide (BrCH2CH2Br) ใช้เป็นยาฆ่าแมลงและยาปราบศัตรูพืชในดิน
-อื่น ๆ เช่น ตัวทำละลาย พลาสติก เภสัชภัณฑ์ น้ำยาถ่ายรูป
-ใช้ในการทำหลอดไฟร่วมกับก๊าซเฉื่อย

การนำไปใช้ประโยชน์ของ Chlorine


-ใช้ฆ่าเชื้อ แบคทีเรีย และจุลินทรีย์ใน น้ำดื่ม และน้ำในสระว่ายน้ำ
-ใช้ในอุตสาหกรรมผลิต กระดาษ ทำยาฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ทำสีผสมอาหาร ยาฆ่าแมลง สี ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม พลาสติก เวชภัณฑ์ อุตสาหกรรมเท็กไทล์ ฯลฯ
-ในทาง อินทรีย์เคมี ใช้ธาตุนี้เป็นออกซไดซิ่งเอเจนต์ และใน ซับสทิทิวชัน(substitution) เพราะคลอรีนมีคุณสมบัติเคมีที่ต้องการใน สารประกอบอินทรีย์ เมื่อเข้าไปแทนที่ ไฮโดรเจน (ในการผลิต ยางสังเคราะห์)
ใช้ในการผลิตคลอเรต (chlorates) ,เช่น คลอโรฟอร์ม (chloroform) , คาร์บอนเตตร้าคลอไรด์ (carbon tetrachloride) , และใชในการสกัด โบรมีน

การนำไปใช้ประโยชน์ของ Fluorine


-การประกอบฟูลออไรด์ รวมไปถึงNaF โซเดียมฟลูออไรด์ SnF2 ทินท์ฟลูออไรด์ ใช้ปริมาณเล็กน้อยเติมลงในยาสีฟัน จะทำให้แคลเซียมที่ผิวฟันแปลงสภาพเป็นแคลเซียม อีกทั้งยังใช้ในการส่งถ่ายน้ำประปาในปี 1945 ซึ่งได้มีการโต้แย้งเกิดขึ้น
-ช่วยทำให้หมดความรู้สึก เช่น sevoflurane, desflurane, and isoflurane are hydrofluorocarbon derivatives.
-กรดไฮโดรฟลูออริก หรือกรดกัดกระจก ใช้ในงานศิลปะเพื่อกัดกระจกให้เป็นลวดลายต่างๆ ตามที่ต้องการ
-สารประกอบฟลูออรีน ซึ่งได้แก่โพซิตรอนอีมิสชันโทโมกราฟี ใช้ในกระบวนการทางการแพทย์เรียกว่า โพซิตรอนอีมิสชันโทโมกราฟี